top of page

เรียนกับหลวงพ่อเต่า (๒)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             เมื่อมีโอกาสที่หลวงพ่อเต่าพักผ่อนช่วงเวลาค่ำๆหลวงพ่อพยุงกับพระอีกรูปหนึ่งซึ่งบวชอยู่กับหลวงพ่อเต่าแต่ท่านจำชื่อไม่ได้เสียแล้วท่านมักจะเข้าไปอุปัฏฐากบีบนวดถวายและถือโอกาสกราบเรียนถามข้อสงสัยและขอเรียน วิธีการรักษาคนป่วยไข้นั้นต้องดำเนินจิตอย่างไร หลวงพ่อเต่ามองหน้าท่านแล้วถามว่าคุณก็ดูอยู่เห็นอยู่แล้วคุณคิดว่าอย่างไร ท่านจึงกราบเรียนหลวงพ่อเต่าว่า กระผมแอบดูเพราะความอยากรู้อยากเห็นไม่ได้คิดอวดดีอวดเก่งอะไรกับหลวงพ่อเลย เพียงแต่อยากศึกษาเพิ่มเติมให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อภายหน้าจักได้เป็นประโยชน์แก่พระศาสนาบ้าง หลวงพ่อเต่าหัวเราะชอบใจแล้วว่าที่คุณศึกษาก็ถูกต้องแล้วแต่ถ้าจะเรียนอย่างหลวงพ่อก็ต้องมีปฏิภาณไหวพริบรู้จักพลิกแพลงจิตอีกนิดหน่อยก็ใช้ได้ ท่านถามว่าต้องทำอย่างไรครับหลวงพ่อเต่าท่านหลับตาอยู่ครู่หนึ่งตอบว่า คุณต้องฝึกกสิณน้ำดูก่อนถ้าคุณเป็นผู้มีวาสนาบารมีสั่งสมกสิณน้ำมาแต่ชาติก่อนๆถึงไม่ได้ตกแต่งกสิณเลยเพียงแต่เพ่งก่อนดีแล้วอธิบายดูน้ำในบ่อ ในสระ หรือในแม่น้ำ ก็อาจสำเร็จอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตได้โดยง่าย  หากผู้ใดไม่เคยบำเพ็ญกสิณน้ำไว้ในอดีตชาติก็ให้ทำกสิณน้ำด้วยน้ำที่ใสบริสุทธิ์ ให้เอาน้ำใส่ขันให้เต็มเพียงขอบปาก ยกไปตั้งไว้ในที่กำบังตั้งบนม้าสี่เหลี่ยมสูงสักสี่คืบ แล้วนั่งห่างขันประมาณสองศอกคืบ แล้วนั่งขัดสมาธิหันหน้าไปทางขันน้ำ   แล้วพิจารณาโทษของกามคุณห้า แล้วตั้งจิตให้ดีในฌานธรรม   อันเป็นอุบายที่จะยกตนออกจากกามคุณ และจะล่วงพ้นกองทุกข์ทั้งมวลแล้วระลึกถึง พระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ  ทำจิตให้เบิกบานแจ่มใส ทำใจให้มั่นว่าการปฏิบัติดังนี้พระอริยะเจ้าทั้งหลายได้ดำเนินมาล้วนแต่ปฏิบัติดังนี้ต้อง   หลังจากได้ศึกษาธรรมปฏิบัติและวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อเต่าจนได้รับผลเป็นที่พอใจท่านจึงพากเพียรพยายามที่จะศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีกโดยเน้นการปฏิบัติทางจิตเป็นหลักสำคัญเพราะจุดหมายที่ท่านต้องการไม่ใช่แค่นี้แต่ท่านต้องการความหลุดพ้นเป็นหลักชัย   เพราะเหตุนั้นพอออกพรรษาปีพ.ศ. ๒๔๙๗  ท่านจึงขออนุญาตหลวงพ่อเต่ากลับสุพรรณบุรีเพื่อแสวงหาที่วิเวก    หลวงพ่อเต่าได้ให้โอวาทก่อนออกเดินทางว่า "พระพุทธเจ้าตรัสว่าผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ตั้งแต่นี้ต่อไปคุณจงพยายามรักษาจิตและสมาธิไว้แล้วทำให้ยิ่งๆขึ้นไปแล้วคุณจะประสบผลดังตั้งใจ" การกลับสุพรรณบุรีนั้นก็เหมือนเวลามาคือท่านเดินทาง ตัดทุ่งกลับแต่เวลากลับท่านก็อยู่ในความสำรวมและเพ่งจิตทดสอบวิชาที่เรียนมาทั้งภายนอกและภายในโดยเฉพาะปฐวีกสิณ ท่านว่า  เดินไปเล่นพักเดียวถึงปากคลองบางขวากท่านจึงเดินไปพักยังวัดปู่เจ้าก่อนเพราะเล็งเห็นประโยชน์ ๒ ประการ คือ

 

                                   ๑.จักได้ไปเยี่ยมคารวะพระอุปัชฌาย์คือ หลวงปู่สม แห่งวัดดอนบุพผารามด้วย

                                   ๒.จักได้เยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ฝ่ายมารดาที่เคยอุปถัมภ์กันมาแต่เยาว์วัย

 

                 ท่านจึงปฏิบัติภาวนาที่วัดปู่เจ้าเป็นเวลา ๖ เดือนสมัยนั้นวัดปู่เจ้าเป็นวัดที่สงบเงียบมากเหมาะแก่การภาวนาอย่างยิ่งท่านมักปลีกตัวจากหมู่คณะไปภาวนาอยู่ที่กุฏิด้านหลังวัดเป็นประจำ ก่อนเข้าพรรษาปีพ.ศ. ๒๔๙๘ หลวงพ่อเต่าได้มรณะภาพลงเมื่อท่านเมื่อท่านจึงรีบเดินทางกลับไปยังวัดน้ำพุอีกครั้งเพื่อช่วยงานครูบาอาจารย์อีกครั้งท่านเล่าว่าการที่หลวงพ่อเต่าละสังขารนั้นเหมือนดังร่มโพธิ์ร่มไทรล้มลง ยังความเศร้าโศกแก่ ศิษยานุศิษย์เสียงระงมร่ำไห้ของญาติโยมมีอยู่ทั่วบริเวณวัดทั้งนี้เพราะความเมตตาของท่านที่มีต่อญาติโยมโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังทั้งท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีแต่ความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงเป็นที่เคารพนับถือของพระภิกษุสงฆ์และประชาชนทุกระดับชั้น 

 

 

 

พระครูธรรมะพิริยคุณ (หลวงพ่อเต่า ธัมมธโร)   อดีตเจ้าอาวาสวัดน้ำพุสิทธาราม  

เจ้าคณะอำเภอวิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง   ท่านเป็นผู้สอนวิธีการกำหนดกสินให้แก่หลวงพ่อเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๗

พระครูธรรมะพิริยคุณ (หลวงพ่อเต่า ธัมมธโร)        

 

© 2015 by Piyanuch  Charernmool. Proudly created with Wix.com 

  • facebook
bottom of page