top of page

จำพรรษาที่ ๒ ณ วัดบัลลังก์ พ.ศ. ๒๔๙๕

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          เมื่อกลับมาถึงสุพรรณบุรีก็พักอยู่ที่วัดบัลลังก์ในขณะนั้นพระอาจารย์พร มุนินาโภ เป็นเจ้าอาวาส รุ่งเช้าพอฉันภัตตาหารเช้าแล้วจึงเดินทางไปเยี่ยมบิดามารดาที่บ้านเมื่อสนทนา ปฏิสัณฐาน พอสมควรแล้วจึงกลับไปพักที่วัดบัลลังก์ตามเดิม  ท่านเล่าถึงวัดบัลลังก์ขณะนั้นว่า  "สมัยนั้นยังไม่ค่อยมีอะไรมีแค่ศาลาดินกับกุฏิไม้มุงสังกะสีเพียงหกหลังแถบบ้านย่านนี้จะมีบ้านอยู่บ้างก็ไม่กี่หลัง ที่ประดิษฐานหลวงพ่อแท่นก็ทำเป็นโครงไม้มุงสังกะสีเก่าๆไม่มีขางฝากั้นเป็นเพียงโรงไม้โล่งๆเท่านั้นน้ำดื่มน้ำใช้ก็กันดารสระน้ำในวัดนั้นก็ขุดมาเมื่อแรกเริ่มสร้างวัดนั่นแหละพอหน้าแล้งญาติโยมก็ได้อาศัยพอน้ำสระวัดแห้งจะสรงน้ำทีก็ต้องเดินข้ามถนนไปอาศัยน้ำบ่อบ้านโยมจีนโยมเหลื่อมบ้านฝั่งคลองบางคราวก็มีโยมหาบน้ำมาใส่ตุ่มไว้ให้บ้าง บางครั้งพระเณรก็ต้องไปหิ้วไปหาบมาไว้ใช้สำหรับสรงบ้าง ซักผ้าบ้าง ล้างบาตรบ้างล้างถ้วยล้างจานบ้างถึงกระนั้นก็ต้องใช้น้ำกันอย่างประหยัด เพราะสงสารโยมที่หาบน้ำมาส่ง หน้าฝนก็ต้องรองน้ำไว้ใช้ สมัยนั้นเห็นคุณค่าของน้ำมากไม่เหมือนปัจจุบัน แต่ถึงจะอัตคัดขัดสนเพียงไรก็ใช่แต่เพียงพระเณรเราเท่านั้นญาติโยมส่วนมากก็ลำบากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ก็กลับไม่รู้สึกว่าเป็นความลำบากอะไร อาจเป็นเพราะเราเคยชินกับสภาพเช่นนั้นมาตั้งแต่เกิดแล้วก็เป็นได้"   ในพรรษาที่ ๒ นั้น  องค์ท่านจึงได้จำพรรษาที่วัดบัลลังก์นั่นเองเพื่อเป็นการโปรดโยมบิดามารดาด้วย 

ในอดีตหลวงพ่อแท่นประดิษฐานอยู่

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๕๒๒ ด้านซ้ายของวิหารจะสังเกตเห็นต้นคูณที่ปลูกไว้

นางสร้อยเกียว ศิริพฤกษ์ ศิษย์ผู้ให้ข้อมูล

เกี่ยวกับวัดบัลลังก์ในสมัยแรกๆ

      วัดบัลลังก์ในขณะนั้นถึงจะอัตคัดแต่ก็สงบวิเวกมากไม่ค่อยมีคนสัญจรไปมาเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรมเป็นอย่างยิ่ง และที่แถวนี้มีทรัพย์ใต้ดินและ สัมพเวสีมากท่านเล่าว่า   "เวลากลางคืนเดือนหงายท่านจะออกมาเดินจงกลมอยู่เป็นประจำบางทีเดินอยู่ดีๆวิญญาณพวกนี้ก็มาปรากฏให้ท่านเห็นในนิมิตบ้างเห็นด้วยตาเปล่าบ้างแต่ไม่ทำอะไรได้แต่ร้องหิวโหย โอดโอยด้วยทุกขเวทนา ซึ่งท่านก็ไม่ได้มีความกลัวอะไรเพราะการพิจารณากายคตาสติทำให้มีสติอยู่ในวงของกายเห็นกายเขากายเราก็ไม่แตกต่างกันตรงไหนเหมือนกันทุกอย่างวันนี้ยังไม่เหมือน ต่อไปก็ต้องเหมือนกันอยู่ดี"

         ด้วยเหตุนี้ท่านจึงขจัดความกลัวออกไปจากจิตได้  ท่านเล่าว่าท่านไม่กลัวผีตั้งแต่เห็นตนเองเป็นกระดูกแล้ว บางพวกก็วิ่งไปวิ่งมา ด้วยกรรมของตนจะหยุดก็ไม่ได้ได้แต่วิ่งไปร้องไป หากผ่านมาที่องค์ท่านภาวนาอยู่ท่านก็จะแผ่เมตตาให้พวกนั้นก็จะหยุดรับหากกรรมยังไม่หมดก็จะวิ่งต่อไป ท่านกำหนดดูภพภูมิที่อยู่นั้นทำให้องค์ท่านทราบว่าบริเวณแถวนั้นเป็นหมู่บ้านเก่าเคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางเป็นชุมชนที่ใหญ่มาก  มีวัดวาอารามใหญ่โตผู้คนอาศัยอยู่มากมาย  

          ผู้คนในสมัยนั้นมีความเป็นอยู่ดีใจบุญสุนทรทาน สร้างวัดสร้างพระพุทธรูปเป็นทองคำก็มีเป็นเงินก็มาก สำริดก็ใช่น้อยที่เป็นศิลาแลงก็เยอะ ส่วนมากองค์ไม่ใหญ่นักประมาณ ๓๐ นิ้วเห็นจะได้เขาสร้างเป็นพระไว้สืบทอดศาสนาในสมัยนั้นเขาร่วมกันหล่อระฆังใบใหญ่เท่าล้อเกวียนสูงประมาณห้าเมตรมีลวดลายวิจิตรงดงามมากท่านเล่าว่าท่านเองก็ได้มีส่วนร่วมในการหล่อระฆังในครั้งนั้นด้วย  สมัยนั้นมีคนอยู่สองประเภทคือประเภทที่หนึ่งทำบุญให้วัดหมายถึงเวลาทำบุญแล้วไม่ติดในบุญหรือวัตถุที่ทำบุญพวกนี้เวลาตายเขามักจะได้ไปสู่สุคติที่ดีงาม ประเภทที่สองคือทำบุญเอาวัดหมายถึงเวลาทำบุญแล้วกลับยึดมั่นถือมั่นว่านี้ของกู นั้นของกู กูสร้างไว้  พวกนี้เวลาตายไม่ค่อยได้ไปไหนเพราะจิตเขาผูกพันกับวัตถุ  จึงต้องมาเป็นสัมภเวสีวนเวียนอยู่ที่นี่ บางพวกมาปรากฏให้องค์ท่านเห็นมีไฟลุกท่วมตัวร้องด้วยความครวญครางเวลาอ้าปากร้องจะมีหนอนล่วงมาจากปากเขาตัวใหญ่เท่าหัวแม่มือ(ท่านยกหัวแม่มิให้ดู) ท่านกำหนดจิตพิจารณาว่าพวกนี้ทำกรรมอะไรไว้จึงทุกข์ทรมานอย่างนี้  ดวงธรรมในจิตก็แสดงให้เห็นทันทีเลยว่าพวกนี้เคยอยู่วัดศึกษาธรรมรักษาศีล แต่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนในศาสนามือถือสากปากถือศีลในใจมีแต่ความโลภชอบขนของวัดหรือของที่เขาถวายสงฆ์เข้าบ้านโดยไม่มีความละอายต่อบาปกรรมอะไรถือว่าตนเป็นคนใกล้วัดคุ้นเคยกับวัดกับพระจะทำอะไรพระท่านก็เกรงใจไม่ว่าด้วยเหตุนี้ชนผู้โง่เขลาเบาปัญญาจึงย่ามใจด้วย ทิฏฐิมานะเลยวางตัวเสียใหญ่ยิ่งกว่าพระสงฆ์องค์เณรโดยไม่รู้บาปรู้กรรมบางคราวเมื่อไม่พอใจก็ด่าพระสงฆ์องค์เจ้าด้วยถ้อยคำหยาบคายด้วยความหลงผิดพอเกษียนพบชาติจึงได้มาเกิดเป็นเปรตอยู่ที่นี่เพราะเอาของวัดไปเป็นของตัวจึงมีไฟลุกท่วมอยู่อย่างนี้

บริเวณนี้เคยเป็นที่เดินจงกลมและทำความเพียรขององค์ท่านในระยะเริ่มแรกที่มาอยู่ ณ วัดบัลลังก์จนได้พบสิ่งลึกลับมากมาย

   และกรรมที่ด่าว่าพระสงฆ์องค์เณรในปากจึงมีแต่หนอนไชอยู่อย่างทุกข์ทรมานนี่แหละ องค์จึงกำหนดจิตดูว่าก็วิญญาณเหล่านี้อยู่ที่นี่มานานเท่าไรแล้ว ดวงธรรมตอบว่าเห็นจะสามร้อยกว่าปีแล้ว ใครอุทิศบุญให้แต่ก็รับไม่ได้เพราะกรรมที่ยักยอกของสงฆ์นั้นหนักมากเอาไปเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มไฟเผาตัวเอง องค์ท่านเล่าว่าหลวงพ่อก็มีความสงสารเขาแต่อำนาจของกรรมนั้นหนักมากทั้งพิจารณาดูแล้วเขาเคยเป็นญาติเรามาในกาลก่อนจึงพิจารณาว่านอกจากเราแล้วก็ยังไม่มีใครที่จะช่วยวิญญาณเหล่านี้ได้ ท่านจึงตั้งใจที่จะอยู่ที่วัดบัลลังก์เพื่ออนุเคราะห์วิญญาณเหล่านั้น

       นอกจากผีเปรตกลุ่มนั้นแล้ว ยังมีวิญญาณอีกพวกหนึ่งวิ่งไปวิ่งมา ท่านว่าพวกนี้เวลาเป็นคนไม่ขวนขวายในการทำบุญกุศลมักอ้างว่าไม่มีเวลาแต่มักชอบเอาเวลาไปทำผิดศีลผิดธรรมกินเหล้าเมายา ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจึงต้องวิ่งไปวิ่งมาอย่างนี้จะหยุดก็ไม่มีที่อยู่พวกนี้ก็น่าสงสารแผ่เมตตาให้ก็พอรับได้บ้างแต่ไม่มากนี้เป็น เพราะกรรมของเขาเองแล้วองค์ท่านก็ว่าเรื่องอย่างนี้เป็นความรู้ภายในไปเล่าสงเดชไม่ได้เดี๋ยวคนไม่รู้เขาจะตำหนิเอาจะทำให้เขาบาปเปล่าๆที่หลวงพ่อเล่าให้ฟังก็เพื่อเก็บไว้เป็นอุทาหรณ์สอนใจจะได้ไม่ประมาทในกาลข้างหน้า แล้วท่านยังกล่าวอีกว่าที่แถวนี้มีทรัพย์ใต้ดินมากองค์ท่านเคยเดินไปทางหลังศาลาการเปรียญหลังปัจจุบันท่านว่ามีเรือชะล่าบรรทุกสมบัติลำหนึ่งใหญ่พอสมควรมีคนสองคนพายหัวพายท้ายผ่านหน้าไปดินนี่เป็นร่องลึกลงไปเป็นวาท่านว่าสองคนนั้นเรียกท่านให้เข้าไปดูเมื่อเห็นแล้วเขาก็บอกให้ท่านรับไว้ตามแต่ประสงค์ท่านว่าท่านก็ไม่ได้สนใจอะไรกับสมบัติเงินทองเหล่านั้น เพราะระลึกได้ว่าพระเรามีสมบัติที่พระพุทธเจ้ามอบให้อยู่แล้วนั่นคืออริยทรัพย์นั่นเองเพราะจิตยึดห่วงหวงแหนจึงต้องมาเฝ้าอยู่ที่นี่เป็นเพราะความโลภแท้ๆท่านเกิดความสลดใจและเห็นโทษของความโลภขึ้นมาในขณะนั้น(หมายเหตุ)อริยทรัพย์ หมายถึงทรัพย์อัน ประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่นเงินทอง เพราะโจรหรือใครๆแย่งชิงไม่ได้ และทำให้คนประเสริฐอย่างแท้จริง มี ๗ อย่าง คือ   

๑.สัทธา  เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ

๒.สีล  รักษากายวาจาให้เรียบร้อย

๓.หิริ  ความละอายแก่ใจ

๔.โอตตัปปะ  ความเกรงกลัวต่อบาปและผลของบาป

๕.พาหุสัจจะ  ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก

๖.จาคะ  สละสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน

๗.ปัญญา   รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์

 

        ตลอดพรรษานั้นองค์ท่านบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่วัดบัลลังก์อย่างสงบ ในกลางพรรษานั้น อาการหอบของท่านกำเริบขึ้นมาอีก บิดาและมารดาของท่านซึ่งมาอยู่จำศีลอยู่  ด้วยจึงพยาบาลรักษาท่านอย่างเต็มที่

บริเวณที่สร้างห้องสมุดของโรงเรียน

ในปัจจุบันเมื่อแรกเริ่มขุดหลุมเสาได้ค้นพบวัตถุโบราณต่างๆ

การถือธุดงควัตรของพระภิกษุสงฆ์

ขอบคุณภาพจาก akkarakitt in Dharma

      ท่านเล่าว่าอาการหอบหรืออาการป่วยก็เป็นแต่สังขารเท่านั้นใจท่านไม่ได้ป่วยด้วยเลย ฉะนั้นการป่วยจึงเป็นแค่สภาวะของสังขารร่างกายเท่านั้น ถึงจะป่วยอย่างไร แต่องค์ท่านก็ไม่ได้ละความเพียรเลย    ยังคงปฏิบัติสมาธิภาวนาไม่ลดละและยังถือธุดงควัตรอยู่เป็นนิจ  ธุดงควัตรที่องค์ท่านถือปฏิบัติตลอดมา คือ

          ๑.ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

          ๒.ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร 

          ๓.ถือการเที่ยวบิณฑบาตรเป็นวัตร

          ๔.ถือการเที่ยวบิณฑบาตรไปตามลำดับเป็นวัตร

          ๕.ถือการนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร

          ๖.ถือการฉันภัตตาหารในบาตรเป็นวัตร 

          ๗.ถือการห้ามภัตที่นำมาถวายภายหลังเป็นวัตร

        ส่วนข้ออื่นๆองค์ท่านก็ถือปฏิบัติเป็นบางครั้งบางคราว (ข้ออื่นๆได้แก่ ๘. ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ,๙. ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร, ๑๐. ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร, ๑๑. ถืออยูป่าช้าเป็นวัตร, ๑๒. ถือการอยู่ในเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) อันท่านจัดให้อย่างไร, ๑๓. ถือการนั่งเป็นวัตร)

© 2015 by Piyanuch  Charernmool. Proudly created with Wix.com 

  • facebook
bottom of page