top of page

ชีวประวัติหลวงพ่อพยุง  สุนฺทโร

  เกี่ยวกับหลวงพ่อ

     หลวงพ่อพยุง  สุนฺทโร เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี ท่านมีนามเดิมว่า พยุง เกิดเมื่อ  ๑๐  มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕  ณ.บ้านห้วยมะซาง หมู่ 1 ตำบลหนอหญ้าไซ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาชื่อนายเจิม เกตุประทุม มารดาชื่อนางปั่น เกตุประทุม หลวงพ่อพยุงมีพี่น้องรวม 7 คน หลวงพ่อพยุงเป็นที่คน 5

ชาติภูมิ

              หลวงพ่อพยุง สุนฺทโร  ท่านเป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด ท่านเกิดในสกุล เกตุประทุม ที่บ้านปู่เจ้า อำเภอ ศรีประจันต์  บิดาของท่านชื่อเจิม  เกตุประทุม  มารดาของท่านชื่อปั่น  เกตุประทุม เมื่อแรกนั้นครอบครัวของท่านก็อยู่ที่บ้านปู่เจ้าเพราะเป็นบ้านเกิดของมารดา พอถึงหน้าทำนาก็พากันอพยพครอบครัวไปทำนาที่บ้านห้วยมะซางโดยใช้วัวเทียมเกวียนเป็นยานพาหนะ พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวเสร็จก็พากันอพยพกลับบ้านปู่เจ้า สมัยนั้นเรียกว่าทำนาป่า จนอายุหลวงพ่อได้๔ขวบบิดามารดาของท่านจึงได้มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่บ้านห้วยมะซางอย่างถาวร  ท่านมีพี่น้องทั้งหมด  ๗  คน  คือ

 

                                                             ๑.นายน้อม  พลอยสุข

                                                             ๒.นางเนี่ยม  จันทนา 

                                                             ๓.นางน่วม  หอมโสภา

                                                             ๔.นางโน้ม  เกตุประทุม

                                                             ๕.หลวงพ่อพยุง  สุนฺทโร

                                                             ๖.นายประคอง  เกตุประทุม

                                                             ๗.นายสุรินทร์  พลอยสุข

 

 

 

 

 

                 วันเกิดของหลวงพ่อพยุง นั้นไม่มีใครรู้แน่ชัดเพราะหลักฐานต่างๆและคำบอกเล่าเกี่ยวกับประวัติขององค์ท่านไม่ตรงกัน ซึ่งในหนังสือสุทธิระบุว่าท่านเกิดเมื่อวันที่๑๔ มิถุนายนพ.ศ.๒๔๗๔ตรงกับวันศุกร์  เดือน๗ปีมะแมซึ่งปัจจุบันหนังสือสุทธิของท่านได้สูญหายไปหลังจากหลวงพ่อท่านละสังขารจึงไม่สามารถนำมาลงไว้เป็นหลักฐานได้พบเพียงสำเนาที่ถ่ายเอกสารไว้ซึ่งเหลืออยู่หน้าเดียวคือหน้าสถานะเดิมเท่านั้นโดยปกติที่ได้ยินได้ฟังมาจากองค์ท่านและค้นพบบันทึกในสมุดข่อยซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นลายมือบิดาขององค์ท่านเพราะบันทึกชื่อหลวงพ่อและพี่น้องของท่านพร้อมวันเดือนปีเกิด และขึ้นแรมไว้อย่างชัดเจนทุกคน แต่ลักษณะการเขียนอาจอ่านยากสักหน่อยเพราะเขียนไม่ถูกหลักไวยากรณ์เหมือนในปัจจุบัน ดังนี้

 

                                     "นายน้อม ปีจอ  เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำวันเสาร์   

                                    นางเนี่ยม ปีชวด เดือน ๗ แรม ๗ ค่ำวันจันทร์  

                                    นางน่วม ปีขาล เดือน ๙ ขึ้น ๑ ค่ำวันจันทร์ 

                                    นางละออง ปีมะโรง วันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๑๐ ค่ำ 

                                    นายพยุง ปีมะแม เดือน ๗ วันศุกร์ ขึ้น ๗ ค่ำ     

                                    นายประคอง ปีจอ วันจันทร์ เดือน ๗ วันสิ้นเดือน"

 

 

 

 

 

 

                 จึงเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ศิษย์ว่าหลวงพ่อท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะแม พ.ศ.๒๔๗๔แต่เมื่อตรวจสอบจากปฏิทิน๑๐๐ปีเพื่อดูย้อนหลัง โดยคำนวณจากหลักฐานการบันทึกในหนังสือสุทธิและการบันทึกในสมุดข่อยคือพ.ศ. ๒๔๗๔ซึ่งตรงกับปีมะแมกลับไม่พบว่าในเดือน๗ของปีนั้นจะมีวันศุกร์ ที่ตรงกับขึ้นหรือแรม๗ค่ำแต่อย่างใด  หากกลับไปพบ วันศุกร์  ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕  จึงสันนิษฐานตามหลักฐานว่า หลวงพ่อท่านน่าจะเกิดในวันที่๑๐  มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ จึงจะสมเหตุสมผลมากที่สุด  จึงสันนิษฐานว่าความทรงจำเรื่องวันเดือนปีเกิดของคนรุ่นเก่าอาจคาดเคลื่อนก็เป็นไปได้ เพราะมีลูกหลายคนและสมัยนั้นในชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ที่มีแต่ความแร้นแค้นและทุรกันดารจะหาปฏิทินไว้ดูเช่นปัจจุบันก็เป็นไปได้ยากเพราะสมัยนั้นไม่มีปฏิทินแจกจ่ายกันอย่างทุกวันนี้ทั้งในระยะนั้นบ้านเมืองก็เกิดความวุ่นวายเพราะกำลังเปลี่ยนการปกครองพอดีดังนั้นจึงต้องอาศัยสังเกตดวงจันทร์ข้างขึ้นข้างแรมเท่านั้น  เมื่อบิดามารดาบอกวันเวลาไว้อย่างไรลูกๆก็จำไปอย่างนั้น อีกประการหนึ่งบิดาขององค์ท่านอาจไม่ได้บันทึกไว้ในทันทีที่ลูกเกิดสังเกตได้ว่าอาจนำมาเขียนในระหว่างที่ลูกๆโตแล้วก็เป็นได้ จึงใช้คำนำหน้าว่านายและนางเป็นต้น 

                                                        

MY BUTTON

สมุดข่อยซึ่งบันทึกข้อมูลการเกิดของหลวงพ่อและพี่น้องไว้โดยกล่าวถึงวันเดือนปีเกิดของลูกแต่ละคนไว้อย่างชัดเจน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นลายมือบิดาของท่านและเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นเดียวที่ได้ค้นพบ 

นาย เจิม เกตุประทุม บิดาของหลวงพ่อ

© 2015 by Piyanuch  Charernmool. Proudly created with Wix.com 

  • facebook
bottom of page